กระดานสนทนา > พรรณไม้ > โสมชบา
Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
โสมชบา (2573 อ่าน)
14 ก.ย. 2554 13:58
โสมชบา Abelmoschus sagittifolius (Kurz) Merr., Lingnaam Agric. Rev. 2: 40. 1924.
วงศ์
Malvaceae
วิสัย
ไม้ล้มลุก สูงได้ประมาณ 2 ม. มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่ ส่วนต่างๆ มีขนสั้นนุ่ม หูใบรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 ซม. ใบที่โคนรูปไข่ ใบช่วงกลางและปลายลำต้นรูปลูกศรหรือรูปฝ่ามือมี 3-5 พู รูปไข่ รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปแถบ ยาว 3-10 ซม. โคนใบแฉกลึก ขอบใบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบมีขนยาวด้านล่าง ด้านบนมีขนยาวคล้ายหนามกระจาย ก้านใบยาว 4-8 ซม. ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 4-7 ซม. ริ้วประดับมี 6-12 ริ้ว รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.5 ซม. มีขนยาว กลีบเลี้ยงรูปใบพาย ยาว 0.7-1.5 ซม. แยกจรดโคนด้านเดียว ปลายกลีบมี 5 แฉกตื้นๆ ด้านนอกมีขนละเอียด กลีบดอกสีเหลืองนวล ขาว ชมพูหรือชมพูอมแดง ไม่มีสีเข้มตรงกลาง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 ซม. เส้าเกสรยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้ติดตลอดความยาว ก้านชูอับเรณูเกือบไร้ก้าน รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉกตื้นๆ ยอดเกสรรูปจาน แคปซูลรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 3 ซม. มีขนหยาบยาว เมล็ดสี น้ำตาลดำ คล้ายรูปไต มีต่อมกระจายตามเส้นร่างแห
การกระจายพันธุ์
พบในอินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลซีย จนถึงทางตอนบนของออสเตรเลีย ในไทยพบกระจายห่างๆ ทัวประเทศ พบมากทางภาคเหนือ ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบชื้น พบมากตามเขาหินปูน ระดับความสูงจนถีงประมาณ 1000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ประโยชน์ พบปลูกเป็นไม้ประดับบ้างแต่ไม่มากนัก
อ้างอิงจาก : สำนักงานหอพรรณไม้
125.24.10.124
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com