Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
ระคนทอง (1790 อ่าน)
14 ก.ย. 2554 14:49
ระคนทอง Tristellateia australasiae A. Rich., Sert. Astrol.: t. 15. 1833.
วงศ์
Malpighiaceae
วิสัย
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาวได้กว่า 10 ม. ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางโตได้ประมาณ 4 ซม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม หูใบรูปแถบ ยาวประมาณ 1 มม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 6-12 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบกลมหรือรูปหัวใจ แผ่นใบเกลี้ยง มีต่อม 2 ต่อม ติดกับก้านใบ ขอบใบโค้งเล็กน้อย ก้านใบยาว 1-2 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ยาว 10-20 ซม. ดอกเรียตรงข้ามสลับตั้งฉาก ก้านดอกยาว 1.5-3 ซม. มีข้อต่ำกว่าจุดกึ่งกลางก้านดอก ใบประดับ 1 ใบ ยาว 2-3 มม. ใบประดับย่อย 2 ใบ ขนาดประมาณ 1 มม. ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3-4 มม. บางครั้งมีต่อมเล็กๆ ปลายกลีบมน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เกลี้ยง รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ ยาว 0.8-1.5 ซม. ขอบเรียบ โคนเป็นพูคล้ายเงี่ยงลูกศร ก้านกลีบยาว 2-3 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูกว้างช่วงโคน สีเหลืองเปลี่ยนเป็นสีแดง ยาวไม่เท่ากัน ยาว 3-5 มม. อับเรณูยาว 2-3 มม. รังไข่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. คาร์เพลแยกเป็นพูตื้นๆ ก้านเกสรเพศเมียยาว 6-8 มม. เกลี้ยง ผลเชื่อมติดกัน แยกเป็นแฉกคล้ายปีก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ปีกขนาดไม่เท่ากัน มี 8-9 ปีก เมล็ด 3 เมล็ด ยาว 5-6 มม.
การกระจายพันธุ์
พบไต้หวัน เวียดนามตอนใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และออสเตรเลีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นตามรอยต่อระหว่างป่าดิบชื้นและป่าโกงกาง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
อ้างอิงจาก : สำนักงานหอพรรณไม้
ภาพ : ราชันย์ ภู่มา (ทุ่งทะเล กระบี่)
125.24.10.124
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com