Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
กรวยป่า (2228 อ่าน)
23 พ.ย. 2554 16:05
กรวยป่า
ชื่ออื่น
ก้วย (ภาคเหนือ); ขุนเหยิง (สกลนคร); คอแลน (นครราชสีมา); ตวย (เพชรบูรณ์); ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน (พิษณุโลก); ผ่าสาม (นครพนม, อุดรธานี); จะร่วย (สุรินทร์); ผีเสื้อหลวง, สีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ)
วิสัย
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 20 ม. กิ่งมีขนกำมะหยี่ปกคลุม มีขนสั้นนุ่มตามเส้นกลางใบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ ยาว 8-16 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว ปลายมน โคนใบเบี้ยว รูปลิ่ม หรือมนด้านเดียว อีกด้านกว้างกลมหรือเกือบตัด แผ่นใบหนา ขอบใบจักซี่ฟันตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบยาว 0.6-1.2 ซม. ดอกสีเขียวอ่อน ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกหลายดอกตามซอกใบ ใบประดับมีหลายใบ เกือบกลม ยาวประมาณ 1 มม. ก้านดอกยาว 5-8 มม. กลีบเลี้ยงส่วนมากมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมที่โคน กลีบรูปไข่ ด้านนอกมีขน กลีบยาว 2-3 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ติดบนขอบจานฐานดอกรูปถ้วย ขอบหยักเป็นพู สูงประมาณ 1 มม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. รังไข่รูปไข่ มีขน มี 1 ช่อง ก้านชูเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแบบแคปซูล ทรงรี ยาว 2.5-3.5 ซม. เนื้อหนา สุกสีเหลือง แตกเป็น 3 ซีก เมล็ดมีหลายเมล็ด มีเยื่อหุ้มมีส้มอมแดง จักเป็นครุย กรวยป่ามีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ชวา บอร์เนียว ในไทยพบกระจายทุกภาค ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ชายป่าดิบชื้น หรือบนเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1000 เมตร
อ้างอิงจาก : สำนักงานหอพรรณไม้
125.24.18.98
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com